วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563

จุดพิจารณาเหรียญตะกุดคู่หลวงพ่อพาน


วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2560

เหรียญหลวงพ่อพาน

หลวงพ่อพาน 2519 รุ่น 1 เนื้อทองแดง วัดโป่งกะสัง

 

หลวงพ่อพาน 2526 รุ่น 2 เนื้อทองแดงรมดำ วัดโป่งกะสัง

 

หลวงพ่อพาน 2535 รุ่น 3 เนื้อทองแดงรมดำ วัดโป่งกะสัง

 

หลวงพ่อพาน 2535 รุ่น 3 เนื้อเงิน วัดโป่งกะสัง

 

หลวงพ่อพาน 2536 เสาร์ 5 เนื้อทองแดง วัดโป่งกะสัง

 

หลวงพ่อพาน 2536 เสาร์ 5 เนื้อเงินหน้ากากทองคำ วัดโป่งกะสัง

 

 หลวงพ่อพาน 2537 เหรียญหล่อรุ่น 4 เนื้อนวะ วัดโป่งกะสัง

 

หลวงพ่อพาน 2537 เหรียญหล่อรุ่น 4 เนื้อเงิน วัดโป่งกะสัง

 

หลวงพ่อพาน 2538 พุทธโคดมเสมา เนื้อทองแดง วัดโป่งกะสัง 

 

หลวงพ่อพาน 2538 พุทธโคดมเสมา เนื้อเงิน วัดโป่งกะสัง 

 

หลวงพ่อพาน 2538 พุทธโคดมรูปไข่ เนื้อทองแดง วัดโป่งกะสัง 

 

หลวงพ่อพาน 2538 ตะกุดคู่มหาอำนาจ เนื้อทองแดง บล็อคทองคำ(นิยม)      วัดโป่งกะสัง


 

หลวงพ่อพาน 2538 ตะกุดคู่มหาอำนาจ เนื้อเงิน วัดโป่งกะสัง

 

หลวงพ่อพาน 2538 ตะกุดคู่มหาอำนาจ เนื้อทองคำ วัดโป่งกะสัง

 

 

►ประวัติหลวงพ่อพาน

หลวงพ่อพาน สุขกาโม วัดเฉลิมราษฏร์(โป่งกะสัง)


              หลวงพ่อพาน สุขกาโม อดีตเจ้าอาวาสวัดเฉลิมราษฎร์ (โป่งกะสัง) ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ท่านเป็นพระที่ถ้าคุณได้ศึกษาประวัติของท่านแล้ว คุณจะยอมรับว่านี้คือพระที่เก่งจริงๆ ของเมืองไทยเราอีกรูปหนึ่ง ก็ขนาดหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ก็ยังเคยกล่าวยกย่องท่านไว้
              เรื่องนี้เกิดขึ้นประมาณ พ.ศ.๒๕๓๕ ขณะนั้นหลวงพ่อพาน ยังมีชีวิตอยู่ ชาวบ้านโป่งกะสังได้เหมารถบัสใหญ่ เพื่อไปนมัสการหลวงพ่อคูณที่วัดบ้านไร่ หลวงพ่อคูณได้เห็นเหรียญที่ห้อยคอของผู้ที่ไปนมัสการท่าน จึงได้ถามว่าหลวงพ่ออะไร ได้รับคำตอบว่า เป็นเหรียญของหลวงพ่อพาน วัดโป่งกะสัง หลวงพ่อคูณจึงกล่าวกับผู้ไปนมัสการว่า "พวกเองไม่ต้องมาหาข้าถึงที่นี่ด๊อก มันไกล พ่อพานมึงเก่งยิ่งกว่ากูอีก หรือแม้กระทั่งหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ยังต้องยอมท่าน และยังให้ลูกศิษย์ของตนเองไปเอาของดีจากท่าน" 
              ด.ต.วิรัตน์ อาจสัญจร ผบ.หมู่งานจราจร สน.บางยี่ขัน กทม. ผู้สะสมพระหลวงพ่อพาน อธิบายให้ฟังว่า หลวงพ่อพานสร้างวัตถุมงคลไว้ไม่มาก เพราะท่านเป็นพระที่ไม่ยอมให้ใครสร้าง ก็ขนาดหนังสือมหาโพธิ์ ของใหญ่ ท่าไม้ จะมาขอสร้างวัตถุมงคลของท่าน ท่านยังไม่ยอมให้สร้างเลย วัตถุมงคลของท่านมีดังนี้
              ๑.พระเนื้อผงรุ่นแรก สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔ ตามประวัติที่หลวงพ่อพานท่านได้เล่าให้ นายอรรตภูมิ สร้อยทอง ซึ่งป็นเด็กวัดและบีบนวดท่านเป็นประจำ ฟังว่า พระผงรุ่น ๑ นี้ พอท่านได้เรียนวิชากับหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวงแล้ว ท่านได้นำผงพุทธคุณไปให้อาจารย์ปลุกเสก แต่หลวงพ่อทองศุขกลับบอกว่า ไหนๆ ก็เรียนวิชาจบหมดแล้วก็มาปลุกเสกด้วยกันสิ ท่านจึงได้ปลุกเสกร่วมกับหลวงพ่อทองศุข
              ส่วนรุ่นที่ ๒ เป็นพระสมเด็จเนื้อผงอีกเช่นกัน จัดสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ โดยได้นำผงพุทธคุณรุ่นแรกมาผสมด้วย สังเกตให้ดีมวลสารคล้ายกันมาก 2 รุ่นนี้ โดยรุ่นนี้ได้ปลุกเสกร่วมกับศิษย์ผู้พี่ หลวงพ่อเพลิน ที่วัดหนองไม้เหลือง ต่อมา พ.ศ.๒๕๒๓ ท่านได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดโป่งกะสัง และได้นำสมเด็จรุ่นนี้มาแจกที่วัดโป่งกะสัง ชาว อ.กุยบุรี จึงจัดรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกของวัดโป่งกะสัง ส่วนเหรียญรุ่นแรกของท่าน จัดสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ จำนวนไม่เกิน ๑ หมื่นเหรียญ เพราะบล็อกแตกเสียก่อน
              ด.ต.วิรัตน์ ยังบอกด้วยว่า ตามประวัติ เหรียญรุ่นนี้ ท่านก็ได้เล่าให้ นายอรรตภูมิ สร้อยทอง ฟังเช่นกัน เพราะนายอรรตภูมิถามท่านว่า หลวงพ่อเขาลือกันว่า เหรียญหลวงพ่อมีปลอมและเสริมด้วยหรือ เห็นเขาลือกัน ท่านจึงเล่าให้ฟังว่า วันที่สร้างเหรียญรุ่นนี้ตัวท่านอยู่กับหลวงพ่ออินทร์ วัดยาง จ.เพชรบุรี หลวงพ่ออินทร์ได้สร้างเหรียญของท่าน ทางผู้สร้างได้มาที่วัด ออกแบบ กำหนดจำนวน หลวงพ่ออินทร์ จึงถามหลวงพ่อพาน ว่าไม่สร้างเหรียญหรือ หลวงพ่อพานตอบ ไม่สร้างหรอก วัดเราจน แต่ถ้าได้ราคา ๑ บาทต่อเหรียญ ก็จะทำ ผู้สร้างตอบตกลง จึงได้จัดสร้าง เมื่อสร้างเสร็จก็นำเหรียญมาไว้ที่วัดยาง หลวงพ่อพานก็ทยอยนำเหรียญนั้นกลับวัดโป่งกะสัง ส่วนเหรียญรุ่น ๒ สร้างจำนวน ๕,๐๐๐ เหรียญ มีเนื้อเดียวเช่นกัน
              ส่วนรุ่น ๓ สร้าง ๓ เนื้อ ประกอบด้วย เนื้อทองคำ ๘๒ เหรียญ เนื้อเงิน ๘๒ เหรียญ เนื้อทองแดงรมดำ ๖,๐๐๐ เหรียญ รุ่น ๔ เป็นเหรียญหล่อ ทองคำ ๘๔ เหรียญ เงิน ๕๐๐ นวะและทองเหลืองรวม ๕,๐๐๐ เหรียญ เหรียญหล่อนี้หลวงพ่อพานมาโรงหล่อที่พรานนกด้วยตนเอง โดยได้นำตะกรุด แผ่นทองแดงที่จารแล้ว จำนวนมาก และเงินพตด้วง สตางค์รู
              "สมัยก่อน ที่ท่านไปหามาด้วยตัวท่านเองกับ คุณครูพจนรินทร์ มุสิกเจียรนันท์ ผู้ขับรถไปกับหลวงพ่อพาน ท่านได้เทโลหะ ตะกรุด แผ่นทองแดงจาร เป็นปฐมฤกษ์ ด้วยตัวท่านเอง หลวงพ่อพานเป็นพระที่ปลุกเสกวัตถุมงคลของท่านตลอดไม่มีวาระ ถ้าท่านไม่มีกิจนิมนต์หรือไม่ได้จำวัดที่วัด พลบค่ำท่านจะเข้าห้องพระปลุกเสกตลอด" ด.ต.วิรัตน์กล่าวทิ้งท้าย
              หลวงพ่อพานมรณภาพเมื่อ วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๙ รวมอายุ ๘๔ ปี สรีระของท่านไม่เน่าเปื่อย ถูกเก็บไว้ในโลงไม้ เพื่อลูกศิษย์ได้ชมบารมี
ปาฏิหาริย์ที่ไม่รู้จบ
              "ในสมัยก่อน วัดโป่งกะสัง มีหลวงพ่อพานอยู่รูปเดียว คอมมิวนิสต์ชุกชุมมากจริงๆ จึงไม่มีพระรูปใดกล้าอยู่ ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดบอกว่า ถ้าได้ยินเสียงปืนมาจากทางวัดรู้ได้ทันทีว่าหลวงพ่อพานโดนยิงอีกแล้ว เพราะว่า ตชด.จะต้องสับเปลี่ยนกำลังพลเป็นประจำ จึงไม่รู้ว่ามีพระเดินจงกลมอยู่"

              นี้เป็นส่วนหนึ่งเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อพาน
              พระครูโสภิตวชิรธรรม เจ้าอาวาสวัดหนองไม้เหลือง รูปปัจจุบัน เล่าให้ฟังว่า ท่านเป็นคนที่นี่ สมัยท่านเป็นเด็กวิ่งเล่นอยู่แถววัดนี้เป็นประจำ หลวงพ่อเพลิน และหลวงพ่อพาน อยู่ที่วัดหนองไม้เหลืองนี้ด้วยกัน กุฎิติดกันโดยมีบันไดทางขึ้นวัด เป็นสิ่งที่กั้นกุฎิไม่ให้ติดกัน และได้ร่วมกันสร้างวัดหนองไม้เหลืองมาด้วยกัน โดยหลวงพ่อเพลิน เป็นผู้สร้างกุฏิสงฆ์ ส่วนหลวงพ่อพานนั้นสร้างศาลาการเปรียญ
              ทั้งหลวงพ่อเพลิน และหลวงพ่อพานนั้น ไม่ใช่พี่น้องกันเหมือนอย่างที่ทุกคนเข้าใจกัน หลวงพ่อเพลินแก่กว่าหลวงพ่อพาน ๑๑ พรรษา โดยหลวงพ่อเพลินเล่าให้ฟังว่า สมัยที่หลวงพ่อเพลินยังเป็นพระลูกวัด หลวงพ่อพานยังเป็นเด็กวัด หลวงพ่อพานจะเรียก หลวงพ่อเพลินว่า “หลวงพี่” จนมรณภาพ ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ คนบ้านแค จ.เพชรบุรี ไปทำมาหากินที่หมู่บ้านโป่งกะสัง ชื่อว่า โยมพลอย น้อยสำราญ โดยโยมพลอยได้ชื่นชอบหลวงพ่อพาน เพราะท่านเป็นพระเด็ดเดี่ยว เด็ดขาด จึงไปขอกับหลวงพ่อเพลินให้ไปเป็นเจ้าอาวาสที่วัดโป่งกะสัง
              โดยในปีแรกที่หลวงพ่อพานมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดโป่งกะสังหลวงพ่อเพลินได้ไปทอดกฐินให้ ได้เงินจำนวน ๓,๐๐๐ บาท โดยหลวงพ่อพานก็ยังไปๆ มาๆ และมาร่วมงานกับหลวงพ่อเพลินเป็นประจำ คนที่หนองไม้เหลืองศรัทธาหลวงพ่อพานมาก เวลาที่วัดโป่งกะสังมีงานครั้งใดๆ ก็จะเหมารถใหญ่หลายคัน ไปช่วยงานหลวงพ่อพาน มีอยู่ครั้งหนึ่ง ซึ่งหลวงพ่อพานได้เล่าให้เจ้าอาวาสวัดหนองไม้เหลืองรูปปัจจุบันฟังว่า ตัวท่านได้ออกธุดงค์ไปกับหลวงพ่อเพลิน ถึงที่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นถ้ำ หลวงพ่อพานได้บอกกับหลวงพ่อเพลินว่า “หลวงพี่ฉันเอาตรงนี้นะ” เสร็จแล้วทั้ง ๒ รูป ก็ได้ปักกลดในถ้ำแห่งนั้น
              โดยคืนนั้น หลวงพ่อพานไม่ได้นอนทั้งคืนเลย มีมดขี้มาเข้ากลดเต็มไปหมด นอนไม่ได้เลยทั้งคืน ส่วนหลวงพ่อเพลินหลับสบาย แต่ก็แปลกพอตอนเช้าแม้แต่ตัวเดียวก็ไม่เห็น หลวงพ่อพานจึงมาเล่าให้หลวงพ่อเพลินฟัง หลวงพ่อเพลินจึงบอกว่า “นั้นแหละเป็นเพราะคุณยินดีต่อสถานที่”
              เจ้าอาวาสวัดหนองไม้เหลืองกล่าวต่ออีกว่า งานที่หลวงพ่อพานไม่ไปเด็ดขาดคืองานศพที่ผู้ตายฆ่าตัวตาย ท่านจะไม่ไปโดยเด็ดขาด และในสมัยก่อนมีงานที่วัด จะมีการทำโคมไฟ ส่วนพระก็ทำตะไล ส่วนหลวงพ่อพานได้ทำโคมไฟ ซึ่งเป็นโคมไฟแขวน เสร็จแล้วท่านก็ให้ชาวบ้านที่ทำตะไล เอาตะไลที่ทำมายิงโคมไฟแขวนของท่าน ใครยิงโคมไฟถูกมารับรางวัลจากท่าน  ผลปรากฏว่าชาวบ้านที่ทำตะไลมา เอาตะไลที่ทำมายิงโคมไฟ ยิงเท่าไรก็ยิงไม่ถูก ยิงจนหมดปัญญายิง
              นอกจากนี้แล้วหลวงพ่อพานยังบอกให้ไปเอาพลุมายิง ชาวบ้านก็ช่วยกันแบกกระบอกยิงพลุ เอาพลุใส่เล็งไปที่โคมไฟแขวน เสร็จแล้วจุดพลุ เสียงระเบิดดัง ตูมๆๆที่กลางอากาศหาถูกโคมไฟไม่ จนชาวบ้านต้องยอมหลวงพ่อพาน “มันก็แปลก โคมไฟแขวนอยู่กับที่ ทำไมยิงไม่ถูกกัน อุตส่าห์เล็งอย่างดี”

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เหรียญหลวงพ่อเปี่ยม

หลวงพ่อเปี่ยม 2480 รุ่น1 เนื้อทองแดง วัดเกาะหลัก


หลวงพ่อเปี่ยม 2480 รุ่น1 เนื้อเงิน วัดเกาะหลัก 

 

หลงพ่อเปี่ยม 2484 รุ่น2 เนื้อเงิน วัดเกาะหลัก

 

หลวงพ่อเปี่ยม 2489 รุ่น3 เนื้อทองแดง วัดเกาะหลัก

 

หลวงพ่อเปี่ยม 2489 รุ่น3 เนื้อเงิน วัดเกาะหลัก

 

หลวงพ่อเปี่ยม 2490 รุ่น4 เนื้อทองแดง วัดเกาะหลัก

 

หลวงพ่อเปี่ยม 2490 รุ่น4 เนื้อเงิน วัดเกาะหลัก

 

หลวงพ่อเปี่ยม 2514 เนื้อทองแดง วัดเกาะหลัก

 

หลวงพ่อเปี่ยม 2514 เนื้ออัลปาก้า วัดเกาะหลัก

 

หลวงพ่อเปี่ยม 2519 เนื้อทองแดง วัดเกาะหลัก

 

หลวงพ่อเปี่ยม 2519 เนื้ออัลปาก้า วัดเกาะหลัก



►ประวัติหลวงพ่อเปี่ยม

หลวงพ่อเปี่ยม จันทโชโต พระสุเมธีวรคุณ วัดเกาะหลัก 


วัดเกาะหลัก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาราวปีพ.ศ.2300 มีฐานะแรกเป็นสำนักสงฆ์ตั้งแต่สมัยอยุธยา พัฒนาเป็นวัดเกาะหลักและยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปีพ.ศ.2515

จากคำบอกเล่าต่อๆ กันมาว่า เจ้าอาวาสที่ชื่อ "หลวงพ่อโสธร" ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกมีวาจาสิทธิ์ ผู้ใกล้ชิดและผู้ที่ผ่านไปมาต่างเคารพนับถือ ด้วยบารมีของเจ้าอาวาสทุกรูปทำให้วัดเกาะหลักมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคง แต่รายละเอียดเกี่ยวกับความเจริญของวัดค้นหาหลักฐานไม่ได้ จนถึงสมัยพระครูสุทธาจารคุณ หรือหลวงพ่ออ่ำ จึงพอมีหลักฐานอยู่บ้าง

วัดเกาะหลัก เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ด้วยความเคารพนับถือหลวงพ่อเปี่ยม (เปี่ยม จันทโชโต) หรือนามสมณศักดิ์ว่า "พระครูสุเมธีวรคุณ นิบุณศิริเขตต์ ชลประเวส สังฆวาหะ" ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งท่านมีความแม่นยำในการพยากรณ์ดวงชะตา และมีความเชี่ยวชาญในการบรรจุดวงชะตาทางโหราศาสตร์ลงในพระประจำวันของบุคคล เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของเจ้าของดวงชะตา

ถึงขั้นเชื่อกันว่า การทำพิธีทางโหราศาสตร์ หากทำที่อื่นจะขลังน้อยกว่าทำที่โบสถ์วัดเกาะหลัก เพราะท่านได้สร้างเทวรูปประจำดาวนพเคราะห์ไว้ที่ลวดลายระหว่างเสาพระอุโบสถโดยรอบและครบถ้วน การทำพิธีจึงเท่ากับอยู่ท่ามกลางทวยเทพประจำดาวเคราะห์ตามตำรับโดยแท้

ทั้งนี้ ผู้คนที่นับถือหลวงพ่อเปี่ยม มิใช่เพราะความเป็นโหราจารย์เท่านั้น ท่านยังให้ความอนุเคราะห์รักษาโรคด้วยสมุนไพร การอบรมคุณธรรม ความรู้ด้านช่างต่างๆ อีกด้วย รวมไปถึงความเชื่อมั่นในพุทธคุณความขลังของพระเครื่องทุกชนิด โดยเฉพาะเหรียญรุ่นแรกที่มีราคาค่านิยมในวงการนักสะสมถึง "หลักหมื่นปลายๆ" ที่สำคัญ ท่านเป็นสุดยอดเกจิอาจารย์ที่ได้รับการ นิมนต์เข้าพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องใหญ่ๆ เช่น ร่วมปลุกเสกเหรียญพระแก้วมรกต ในคราวฉลองกรุงเทพฯ ครบ 150 ปี พ.ศ. 2475 และเป็น 1 ใน 108 เกจิที่ร่วมปลุกเสก "พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี 2485" ซึ่งพระเครื่องทั้ง 2 รุ่นนี้เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง และมีราคาค่านิยมสูงขึ้นทุกขณะ

หลวงพ่อเปี่ยม เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดเกาะหลัก ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ

ท่านเกิดที่บ้านนาห้วย ต.เมืองเก่า อ.ปราณบุรี เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 7 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม 2426 เวลา 1 ทุ่ม 19 นาที เป็นบุตรคนสุดท้องของนายแก้ว นางหนูลัภธ์ นามสกุล ถาวรนันท์ มีพี่ชายร่วมบิดาคนหนึ่งชื่อนายถนอม และมีน้องสาวต่างมารดาอีกคนหนึ่งชื่อ ละมุน เป็นภรรยาขุนสอนสุขกิจ หรือนายแพทย์ ส.อันตริกานนท์

ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ เมื่ออายุ 3 ขวบ บิดาได้ออกจากบ้านไปค้าขายต่างจังหวัด แล้วไปตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่อื่นไม่กลับบ้าน ท่านกับพี่ชายและมารดาได้ช่วยกันทำไร่ด้วยความเหนื่อยยาก อายุ 5 ขวบ มารดานำไปฝากเรียนหนังสือไทยและขอมกับเจ้าอาวาสวัดนาห้วย เรียนจนอ่านออกเขียนได้เล็กน้อย พออายุ 9 ขวบ ทางบ้านประสบอุบัติเหตุไฟไหม้บ้าน มารดาจึงกลับไปอยู่บ้านเดิม ที่บ้านสระแจง อ.หนองจอก จ.เพชรบุรี ท่านได้ไปอยู่กับมารดา ส่วนพี่ชายคงอยู่ที่วัดนาห้วย เรียนหนังสือต่อไปตามเดิม

อายุ 11 ขวบ ได้เรียนวิชาหมอน้ำมนต์กับหมอเขียว ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงในทางรดน้ำมนต์ และไล่ผี จนสามารถรดน้ำมนต์คนไข้แทนหมอเขียวได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังได้เรียนวิชาการต่างๆ หลายแขนงจากอาจารย์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียง เช่น วิชาปลูกสร้างบ้าน ช่างเขียน ช่างปั้น ช่างหยวก และวิชาอ่านเขียนหนังสือ พยายามฝึกฝนอยู่เสมอจนมีความรู้ ความสามารถดีขึ้นเป็นลำดับ 

กระทั่งอายุครบบวช "นายเปี่ยม ถาวรนันท์" จึงอุปสมบทที่วัดลาด อ.เมือง จ.เพชรบุรี พ.ศ.2446 โดยมี พระครูสุวรรณมุนี วัดพระทรง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดบุญ วัดชีว์ประเสริฐ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฉายาว่า "จันทโชโต"

หลังบวชแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดลาด 5 ปี ระหว่างจำพรรษาได้ศึกษาภาษาบาลี บำเพ็ญสมณกิจ ด้วยความเคร่งครัด และได้ออกไปจำพรรษาที่วัด นาห้วย ซึ่งขณะนั้นมีพระครูสุทธาจารคุณ (อ่ำ) เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นกำลังสำคัญในการดูแลสร้างโบสถ์วัดนาห้วย จนสำเร็จ

ปีพ.ศ. 2458 พระครูสุทธาจารคุณ (อ่ำ) ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะหลักและเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ท่านได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ ให้ไปเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนาห้วย และได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส ในปีพ.ศ.2459 ระหว่างที่อยู่วัดนาห้วยได้ไปศึกษาวิชาโหราศาสตร์ จากพระสุวรรณมุนี (ชิต) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ จ.เพชรบุรี และเริ่มมี ชื่อเสียงทางโหราศาสตร์ตั้งแต่นั้นมา

หลวงพ่อเปี่ยม ปกครองพระภิกษุสามเณรภายในวัดด้วยคุณธรรม บูรณะและปฏิสังขรณ์วัดปรับปรุงแก้ไขวางผังการสร้างเสนาสนะให้เป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยความสามารถ จนปีพ.ศ.2462 ได้รับตราตั้ง เป็นพระครูชั้นประทวน ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอปราณบุรี และอำเภอเมือง ประจวบคีรีขันธ์ ปีพ.ศ.2463 เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสามัญที่ "พระครูธรรมโสภิต" ปีพ.ศ.2465 เป็นพระอุปัชฌาย์ ปีพ.ศ.2467 เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูสุเมธีวรคุณ เจ้าคณะรอง (รองเจ้าคณะจังหวัด) เมื่อพระครูสุทธาจารคุณ (อ่ำ) มรณภาพ คณะสงฆ์ได้ย้ายท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะหลัก

ปีพ.ศ. 2473 และต่อมาปีพ.ศ. 2474 ได้รับตำแหน่งให้เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปีพ.ศ.2484 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูเมธีวรคุณ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปีพ.ศ.2484 เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ "พระเมธีวรคุณ บุณคีรีเขตต์ ชลประเวศสังฆปาโมกข์" ในตำแหน่งเดิม

การเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะหลัก และเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของหลวงพ่อ ทำให้หลวงพ่อมีโอกาสแสดงออก ซึ่งอัจฉริยภาพอย่างเต็มที่ ท่านได้นำความรู้ความสามารถมาใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ มากมาย งานสำคัญที่ท่านได้ทำคือการสร้างพระอุโบสถอันวิจิตรงดงามตระการตา การเปิดโรงเรียน นักธรรมและบาลี การสร้างบ่อน้ำ และถังน้ำประปาสำหรับวัด และการปกครองคณะสงฆ์ด้วยคุณธรรม งานทะนุบำรุงและการ ก่อสร้างสังฆาราม หลวงพ่อเปี่ยมทำไว้มาก มิใช่ทำที่วัดเกาะหลักอย่างเดียว แต่ได้ทำในสถานที่อื่นอีกด้วย

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เหรียญหลวงพ่อนาค

หลวงพ่อนาค 2499 หนวดป้าน เนื้อเงิน วัดหัวหิน

 

หลวงพ่อนาค 2499 หนวดป้าน เนื้อทองแดง วัดหัวหิน

 

หลวงพ่อนาค 2499 หนวดหยิม เนื้อทองแดง วัดหัวหิน

 

 หลวงพ่อนาค 2499 บล็อคยิ้ม เนื้อทองแดง วัดหัวหิน

 

หลวงพ่อนาค 2499 บล็อคธรรมดา เนื้อทองแดง วัดหัวหิน

 

หลวงพ่อนาค 2533 เนื้อทองคำ บล็อค ค_ วัดหัวหิน

 

 หลวงพ่อนาค 2533 เนื้อเงิน บล็อค ค_ วัดหัวหิน

 

หลวงพ่อนาค 2533 เนื้อทองแดง บล็อค ค_ วัดหัวหิน

 

หลวงพ่อนาค 2533 เนื้อเงิน บล็อคธรรมดา วัดหัวหิน


หลวงพ่อนาค 2533 เนื้อทองแดง บล็อคธรรมดา วัดหัวหิน

 

หลวงพ่อนาค 2539 เนื้อเงิน กูร่วมบุญด้วย วัดหัวหิน

 

หลวงพ่อนาค 2539 เนื้ออัลปาก้า กูร่วมบุญด้วย วัดหัวหิน


 หลวงพ่อนาค 2539 เนื้อทองแดง ฉลอง 100 ปี วัดหัวหิน


หลวงพ่อนาค 2549 เนื้อทองคำ วัดหัวหิน


หลวงพ่อนาค 2549 เนื้อเงิน วัดหัวหิน


หลวงพ่อนาค เหรียญที่ระลึก รุ่นแรก วัดหัวหิน

 

 หลวงพ่อนาค 2520 เหรียญที่ระลึก 120 ปี เนื้อเงิน วัดหัวหิน


►ประวัติหลวงพ่อนาค

หลวงพ่อนาค ปุญญนาโค พระครูวิริยาธิการี วัดหัวหิน


     ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์เลื่องชื่อทางไสยเวทแลพุทธเวทในยุคกระนั้นเป็นผู้ดำเนินการสร้างและปลุกเสกโดยนิมนต์พระคณาจารย์ระบือนามแห่งยุคเข้าร่วมพิธีปลุกเสกอย่างคับคั่ง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2466 เพื่อพระราชทานให้กับข้าราชบริพารและชาวบ้าน ในวโรกาสเสด็จประทับแรม ณ พระราชนิเวศน์มฤทายวัยที่ตำบลห้วยทรายเหนืออำเภอชะอำจังหวัดเพชรบุรี โดยพระองค์ท่านกำหนดให้“พระมฤคทายวัน”แห่งนี้เป็นเขตอภัยทานคืองดเว้นจาการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเพื่อถวายเป็นพุทธาบูชา ในการที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสรู้ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพราณสี ประเทศอินเดีย เมื่อ 2580 กว่าปีล่วงมาแล้ว เนื่องจากคำว่า “มฤค” นั้น มีความหมายว่า เนื้อ, ทราย ซึ่งมีอยู่ชุกชุมในสถานที่แห่งนี้ คล้ายคลึงกับสถานที่ในพุทธประวัติ หลวงพ่อนาค วัดหัวหิน ท่านมีพื้นเพเป็นชาวเพชรบุรี โดยกำเนินเมื่อปี 2400 และได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ 19 ปี จนอายุครบอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดหลังป้อม ซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดบ้านแหลม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้วหลวงพ่อเป็นผู้ที่ใฝ่ในการศึกษา ได้พยายามศึกษาพระเวรวิทยาคมต่างๆ โดยไปฝากตัวเป็นศิษย์กับคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในแถบนั้น อาทิเช่น หลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง, หลวงพ่อเอี่ยม วัดสันด่าน, หลวงพ่อภู วัดบางกระพร้อมและหลวงพ่อสุก วัดหลังป้อม เป็นต้น ต่อมาท่าน ได้สาสิขาออกมาเป็นฆราวาส มีครอบครัว และเกิดการเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาสจึงได้หวนกลับไปอุสมบทอีกครั้ง ที่วัดโตนดหลวง เพชรบุรี ต่อมาได้รับนิมนต์จากญาติโยมชาวบ้าน ให้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหัวหิน เนื่อวจากเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ขมังเวททรงคุณวิทยา และเป็นนักพัฒนา ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม 2477 สิริรวมอายุได้ 77 ปีวัตถุมงคลต่างๆ ของหลวงพ่อ ที่ขึ้นชื่อลืมชาเป็นที่แสงหาต้องการชนิดแรกก็คือเหรียญรูปเหมือนครึ่งองค์ ทรงเสมา บอกสมณศักดิ์พระครูวิริยาธิการี ซึ่งมีความเชื่อกันว่า พระครูประสิทธิสมนการ (ต้าน เมนะจินดา) วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กทม. ผู้เป็นศิษย์สร้างถลาย เพื่อเป็นที่ระลึก ในการที่หลวงพ่อมีอายุครบ 6 รอบ คือ 72 ปี เป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญหนึ่งของวงการ เสนอราคาอยู่ที่หลักหมื่น ปัจจุบันหาของแท้ชมยาก